คลินิกทันตกรรมครบวงจร
การทํารากฟันเทียม เจ็บไหม? ความเข้าใจของคนส่วนใหญ่เกี่ยวกับการทํารากฟันเทียม คือ การ ผ่าตัดเปิดเหงือก ซึ่งอาจฟังดูน่ากลัว แต่ความจริงเเล้ว ขั้นตอนการทํารากฟันเทียมไม่ได้เจ็บอย่างที่คิด เนื่องจากแพทย์จะมีการให้ยาชาเฉพาะที่หรือยาระงับความรู้สึกเจ็บในระหว่างการทํา แต่กลับกัน กระบวนการที่ทําให้คนไข้รู้สึกเจ็บที่สุด คือการถอนฟันมากกว่าการใส่รากเทียมเสียอีก เพราะการทําราก ฟันเทียมคือการใส่วัสดุรากเทียมที่ทำจากไทเทเนียมผ่าตัดฝังลงบริเวณกระดูกขากรรไกรเพื่อแทนที่ราก ฟันจริงเท่านั้น ดังนั้นอาการเจ็บปวดจากการทํารากฟันเทียมและบาดแผลจึงแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย
ยิ่งไปกว่านั้นด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีด้านทันตกรรม ทําให้กระบวนการรักษาสะดวก ใช้เวลา น้อย และง่ายมากยิ่งขึ้น โดยที่คนไข้จะไม่รู้สึกเจ็บและน่ากลัว แถมปัจจุบันการทํารากเทียมยังมีตัวเลือก มากมายที่เหมาะสมกับคนไข้อีกด้วย
🦷 ผู้ที่มีปัญหาฟันหลอ
🦷 ผู้ที่สูญเสียกระดูกรองฟันเป็นเวลานาน
🦷 ผู้ที่ใช้ฟันปลอมเเล้วรู้สึกหลวม ใส่ไม่พอดี
🦷 ผู้ที่มีปัญหาโรคเหงือกและภาวะสูญเสียฟันในขั้นรุนแรง
🦷 ผู้ที่มีปัญหาสูญเสียกระดูกบริเวณกรามหลังการสูญเสียฟัน
🦷 ผู้ที่ทําครอบฟันหรือสะพานฟันเเล้วมีปัญหา ฟันอาจโยกจนถึงขั้นจําเป็นต้องถอน
o แจ้งประวัติการแพ้ยาและโรคประจําตัวให้ทันตแพทย์ทราบเนื่องจากทันตแพทย์อาจจําเป็นต้องให้ ยาปฏิชีวนะก่อนรับการรักษาในบางกรณี
o ตรวจสุขภาพกับทันตเเพทย์ก่อนว่าสามารถเข้ารับการรักษารากฟันเทียมได้หรือไม่
o งดรับประทานวิตามินหรืออาหารเสริมบางชนิดที่ส่งผลทําให้เลือดหยุดไหลช้าในกรณีเป็นยาที่คนไข้ต้องรับประทานต่อเนื่อง ควรปรึกษาแพทย์ประจําตัวก่อนจึงสามารถหยุดได้
o งดสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์อย่างน้อย7วันก่อนเข้ารับการผ่าตัด
o หากมีอาการไม่สบายเป็นไข้เป็นหวัดหรือโรคอื่นๆควรรอให้หายเป็นปกติก่อนเข้ารับการรักษา
o หากคนไข้รับประทานยากลุ่มละลายลิ่มเลือดให้ทําการปรึกษาเเพทย์ก่อนการหยุดยา
กระบวนการรักษาทั้งหมดอาจใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะเสร็จสิ้น โดยส่วนมากจะเป็นการรอ แผลสมานตัว และรอการสมานของกระดูกกับรากฟันเทียม โดยในบางกรณีหากมีการใช้กระบวนการ รักษาเพิ่มเติมอาจจําเป็นต้องใช้เวลา
นานมากยิ่งขึ้น
1) เข้ารับการปรึกษาและตรวจช่องปากอาจมีการX-Rayและพิมพ์ปากเพื่อวางแผนการรักษาให้ เหมาะสมที่สุด
2) ทําการเคลียร์ปัญหาช่องปากที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการทํารากฟันเทียมตามวินิจฉัยของ ทันตเเพทย์ เช่น การอุดฟัน ขูดหินปูน และรักษาอาการเหงือกอักเสบ
3) หากคนไข้มีเนื้อกระดูกเหลือเพียงพอหรือเป็นเคสที่ถอนเเล้วฝังรากเทียมได้ทันทีก็สามารถ ผ่าตัดฝังรากฟันเทียมได้เลย แต่หากมีกระดูกไม่เพียงพอ คนไข้อาจต้องเข้ารับการปลูกกระดูก รากฟันเทียมก่อน และใช้เวลารอคอยการปลูกรากฟันเทียมนานขึ้นกว่าเดิม
4) ทันตแพทย์จะฝังรากเทียมลงบนกระดูกที่รองรับฟันและเย็บปิดปากแผลในขั้นตอนนี้อาจจะยังมี ช่องว่างระหว่างฟัน หลังการผ่าตัด แต่อย่างไรก็สามารถใช้ฟันเทียมแบบถอดได้เพื่อทดแทนฟัน ในระหว่างที่รอการสมานของกระดูก
5) รับวันนัดหมายตรวจแผลซึ่งจะห่างออกไปประมาณ7-14วันหลังการผ่าตัด
6) คนไข้ต้องรอประมาณ3-4เดือนเพื่อให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกได้อย่างสมบูรณ์หลังจาก
นั้นทันตเเพทย์จะทําการนําพิมพ์ปากของคนไข้ไปผลิตครอบฟัน
7) ทันตเเพทย์นัดมาใส่เเกนฟันตัวจริงและใส่ครอบฟันหรือสะพานฟัน
8) พบทันตเเพทย์เพื่อตรวจการสบฟันการบดเคี้ยวและทําการปรับให้เป็นปกติโดยจะมีทันตแพทย์
แนะนําวิธีการดูเเลและปฏิบัติตัวหลังการทํารากฟันเทียมให้กับคนไข้
o กัดผ้าก็อตทที่ันตแพทย์ให้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา1-1.30ชั่วโมงเพื่อห้ามเลือดจนหยุดไหลและ ไม่ควรเปลี่ยนผ้าก็อตบ่อย
o ประคบเย็นเป็นเวลา3วันบริเวณเเก้มที่ทําการผ่าตัดเพื่อลดอาการบวม
o ไม่ควรใช้หลอดดูดนํ้าหลังการผ่าตัด24ชั่วโมงแรกรวมไปถึงการสูบบุหรี่เพราะแรงดูดจะส่งผลต่อแผล
o ช่วงแรกให้รับประทานอาหารอ่อนเช่นโจ๊กหรือข้าวต้มเพื่อหลีกเลี่ยงการบดเคี้ยวอาหารและของเเข็ง
o แปรงฟันและขัดฟันได้ตามปกติแต่ให้ระมัดระวังบริเวณที่เป็นแผลผ่าตัด oรับประทานยาตามที่ทันนตแพทย์สั่งให้ครบถ้วน
o นอนหมอนสูง2-3วันแรกเพื่อลดอาการบวม
o อมนํ้าเกลือหรือนํ้ายาบ้วนปากทที่ันตแพทย์ให้หลังรับประทานอาหารและก่อนนอนเพื่อลดการติดเชื้อ
o รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้แผลสมานได้เร็วขึ้นงดแอลกอฮอล์หรืออาหารที่มีนํ้าตาลสูง
o ตรวจดูอาการเเละสิ่งผิดปกติเป็นระยะไปพบทันตเเพทย์ตามนัดและตรวจสุขภาพฟันอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน
กลับมาใช้ชีวิตอย่างมั่นใจ ได้ฟันสวยเหมือนใหม่ ดูเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องทนเจ็บ ทวงคืนรอยยิ้ม และความสุขของคุณ กลับคืนมา ด้วย รากฟันเทียม ทางเลือกใส่ฟันของคนยุคใหม่
สําหรับผู้ที่สนใจในการรักษาฟัน สามารถเข้าปรึกษา และรับคําแนะนํากับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้ที่ Dental Select Clinic